Share on:

Facebook Instant Articles ฟีเจอร์ใหม่ของ Facebook ที่เปิดให้ Publisher ใช้งานตั้งแต่เมื่อกลางปีที่แล้ว จะน่าใช้ มีข้อดี ข้อเสีย อย่างไรบ้าง เหมาะกับ Publisher และ ผู้ใช้ในประเทศไทยมั้ย ทางสมาคมผู้ดูแลเว็บไทยจึงได้จัดเสวนา จิบกาแฟคนทำเว็บ WebPresso เรื่อง Facebook Instant Articles ให้กับสมาชิกและผู้สนใจ โดยมีผู้ที่ได้ลองใช้ Facebook Instant Articles แล้วมาแลกเปลี่ยนความเห็นกัน เมื่อวันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน 2559

facebook instant articles, facebook, instant articles, instant article, facebook instant article, fbia, fb, webpresso, webmaster, สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย

ผู้ร่วมเสวนา

  • คุณระวี ตะวันธรงค์ จาก Thairath
  • คุณขจร เจียรนัยพานิชย์ น้องเอ็ม จาก Macthai และ Khajochi Blog
  • คุณศุภเดช สุทธิพงศ์คณาสัย อาจารย์ศุภเดช จาก Freeware.in.th และ ล้ำหน้าโชว์

โดยมีคุณกล้า ตั้งสุวรรณ จาก Thoth Zocial เป็นผู้ดำเนินรายการ

Facebook Instant Articles คืออะไร?

Facebook Instant Articles คือ Feature ใหม่ของ Facebook สำหรับ Publisher ที่จะช่วยให้ Facebook User เข้าไปอ่านบทความได้รวดเร็วขึ้นผ่าน Smart Phone เพราะคนส่วนใหญ่นั้น เข้าถึง Facebook ผ่าน Smart Phone การทำให้ Content เข้าถึงได้รวดเร็ว และอ่านง่ายผ่าน Smart Phone ในยุคนี้นั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็น

จุดเด่นที่สุดของ Facebook Instant Articles คือ “คลิกปุ๊ปมาปั๊บ” ไม่ต้องรอโหลดนาน เปรียบเทียบกับเว็บ pantip ที่มีการ Optimize ให้เหมาะกับมือถืออยู่แล้ว Facebook Instant Articles ยังเร็วกว่า ใช้เวลาไม่ถึง 2 วินาทีก็โหลด Content ขึ้นมาได้หมด

ทำไมใช้ Facebook Instant Article แล้วถึงโหลด Content ได้เร็ว?

Facebook อ่าน RSS Feed ที่เป็น Format เฉพาะ แล้วนำ Content ไปไว้ที่ Server ของ Facebook เอง เมื่อมีการเปิดอ่าน Content ก็ไม่ต้องเปิด Browser โหลดข้อมูลจาก Server ของ Publisher แต่เป็นการอ่าน Content บน App ของ Facebook โดยตรง ซึ่ง Facebook เองก็ไม่ต้องการให้ User “หนี” ออกจากแอพ Facebook ไปสู่แอพอื่นๆ และยังช่วยแก้ปัญหาของเว็บที่ยังไม่เป็น Responsive (ซึ่งในยุคนี้ไม่ควรจะมีแล้วนะ)

Content ที่ใช้ Facebook Instant Articles จะมีสัญลักษณ์ “สายฟ้า” อยู่บนมุมบนขวาของ Post

facebook instant articles, facebook, instant articles, instant article, facebook instant article, fbia, fb, webpresso, webmaster, สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย

อยากใช้ Facebook Instant Articles ในเว็บจะต้องทำยังไง?

Facebook Instant Articles มี Style Template ของ Facebook เอง และมี Tag บางตัวที่สร้างขึ้นมาเพื่อ Facebook Instant Articles แตกต่างจาก HTML ปกติ

การติดตั้ง Facebook Instant Articles มีความยุ่งยากพอสมควร ต้องใช้ Programmer ช่วยในการติดตั้ง

  • Thairath เป็นเว็บที่เขียนเอง การทำ Facebook Instant Articles ต้องให้ Programmer เขียนโปรแกรมเพื่อให้ “พ่น” Code ออกมาตาม Format ที่ Facebook กำหนดไว้ ทาง Facebook ให้คู่มือมา 1 เล่ม ให้ Programmer ทำตามคู่มือนั้น
  • WordPress มี Plugins ชื่อ “Facebook Instant Articles” สามารถโหลดมาใช้ แต่ก็ต้อง Config มากพอสมควร ต้องใช้พื้นฐานทางด้าน Programmer บ้าง
  • มีคู่มือในเว็บของ Facebook ให้อ่าน แต่เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด
  • ต้องมี Fan Page และต้องผูกเว็บไซต์ของเรากับ Fan Page นั้น 1 Fan Page ต่อ 1 เว็บไซต์
  • ต้องใช้แอพ Page Manager บนมือถือ เพื่อดูตัวอย่างก่อน Publish Content
  • มีกฏสารพัด เช่น เคาะ Enter ติดๆ กันหลายครั้งไม่ได้
  • ในการทำ Facebook Instant Articles ครั้งแรก ต้องส่ง Content ให้ Facebook ตรวจสอบ 50 Content ซึ่งใช้เวลามากพอสมควร หากไม่ผ่านก็ต้องกลับมาแก้แล้วส่งให้ตรวจสอบใหม่ ทำให้เสียเวลา
  • เมื่อ Facebook Approve แล้วจึงจะสามารถใช้ Facebook Instant Articles ได้

ใช้ Facebook Instant Articles แล้วเป็นอย่างไรบ้าง พบปัญหาอะไรบ้าง?

เรื่องที่ Publisher / Blogger สนใจมากที่สุด คือ เรื่องของสถิติของเว็บไซต์ ลดลงหรือเพิ่มขึ้นอย่างไรบ้าง และเรื่องการหารายได้จากช่องทางนี้ ประสบการณ์การใช้งานของผู้อ่านเป็นอย่างไรบ้าง

  • เว็บ Macthai : ผู้อ่านได้รับประสบการณ์ที่ดีมากจากการใช้ Facebook Instant Articles ถ้าอันไหนไม่ได้ทำ จะมี Comment อยากให้ทำเป็น Instant Articles
  • Post ที่เป็น Facebook Instant Articles มี Engagement และ Reach สูงกว่า Post ปกติ Facebook Algorithm อาจจะชอบ Post ที่เป็น Facebook Instant Articles มากกว่า Post ปกติ
  • สถิติของเว็บไซต์
    • Macthai เพิ่มขึ้น 20%
    • Freeware.in.th ลดลง
  • เรื่องสถิติของเว็บไซต์ Facebook อนุญาตให้ใส่ Code เก็บ Statistic ได้ เช่น Google Analytics ฯลฯ (ไม่รู้ว่า Truehits ใส่ได้มั้ย)
  • ยอด Pageview ที่กลับมามี Reference หรือ Source ใน Google Analytics เป็น none ทำให้ยังวัดได้ไม่ชัดเจนว่ามาจาก Facebook Instant Articles เท่าไหร่ (ถ้าใส่ UTM Tracking ช่วย ไม่รู้จะทำได้มั้ยนะ)
  • มี Bounce Rate สูงขึ้น เพราะข้อจำกัดของ Facebook Instant Articles ไม่สามารถใส่ Menu หรือปุ่ม Home เชื่อมไปยังหน้าอื่นๆ ในเว็บไซต์ได้
  • ไม่สามารถใส่ Facebook Comment ได้ ต้องปิดหน้านั้น แล้วมา Comment ใน Post แทน
  • ใส่ Banner โฆษณาได้ โดยใช้ Facebook Advert ที่เรียกว่า Facebook Audience Network โดยจะเลือกโฆษณาให้ Relate กับบทความ แต่พอใช้จริงไม่สามารถทำได้ (ความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่าน่าจะขึ้นอยู่กับ Advertiser คนที่ลงโฆษณาเลือก Audience แบบไหน Demographic หรือ Behavior ยังไง มากกว่าการ Relate กับเนื้อหาในบทความ)
  • Facebook จะแสดงโฆษณาคั่นระหว่างเนื้อหา ประมาณ 3 Scroll จะมีโฆษณา 1 ชิ้น ยิ่งเนื้อหายาวยิ่งมีโฆษณาเยอะ
  • Facebook จะจ่ายเงินให้กับ Publisher / Blogger ตามรูปแบบของโฆษณาที่ผู้ลงโฆษณาเลือกไว้ (CPM,CPC)
  • รายได้จาก Facebook Audience Network ยังต่ำเตี้ยเรี่ยดิน เมื่อเทียบกับ Google Adsense
  • การใส่ Banner ของเจ้าอื่น Facebook มี List ของ 3rd Party ที่อนุญาตให้เอา Banner มาลงได้ ส่วนใหญ่ที่ใช้ก็คือ Google Adsense ต้องใช้ผ่าน Google DFP (Double Click for Publisher)
  • ยอดเงินจาก Banner ลดลง ผู้ลงโฆษณาส่วนใหญ่ไปเอาเงินลง Facebook และ Google ทางออกของ Publisher / Blogger คือการขาย Advertorial หรือ Review
  • ไทยรัฐ : การทำ Content ลงเว็บจะยุ่งยากมากขึ้น เพราะต้องทำให้เข้ากับ Style Format ของ Facebook Instant Articles ตอนนี้ไทยรัฐทำเนื้อหาที่เป็น Facebook Instant Articles แค่ 5% ส่วนใหญ่จะเป็นข่าวบันเทิง
  • เมื่อ Publish Facebook Instant Articles ไปแล้ว กลับมาแก้ไขเนื้อหาบนเว็บไซต์ เนื้อหาบน Facebook Instant Articles จะไม่แก้ตามไปด้วย ต้องลบออก แล้ว Publish ใหม่
  • Publisher ในต่างประเทศ เริ่มมีการทำบทความเฉพาะ สำหรับแสดงผลบน Facebook Instant Articles

นอกจาก Facebook แล้ว Google เองก็มี Google AMP (Accelerated Mobile Pages) ซึ่งคล้ายๆ กับ Facebook Instant Articles แต่ Code Format คนละแบบ ปัจุบันเริ่มใช้ในต่างประเทศแล้ว Apple เองก็มี Apple News ที่เริ่มใช้ในต่างประเทศแล้วเช่นกัน

facebook instant articles, google amp, Accelerated Mobile Pages, facebook, instant articles, instant article, facebook instant article, fbia, fb, webpresso, webmaster, สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย

บทสรุป ควรใช้ Facebook Instant Articles มั้ย?

ข้อดี

  • ผู้อ่านจะได้ประสบการณ์การใช้งาน (UX) เหมือนกับการใช้แอพ Facebook
  • โหลด Content ได้รวดเร็ว ไม่ต้องรอนาน ทำให้มียอดคลิกอ่าน Content แบบนี้มากขึ้น
  • ได้ยอด Reach และ Engagement สูงขึ้น
  • เหมาะกับ Content ที่ต้องการให้มียอดคนเห็นสูง เพราะจะได้ยอด Reach และยอด Share เยอะ

ข้อเสีย

  • การติดตั้งยุ่งยาก ต้องทำงานคู่กับ Programmer และยังมีกฎเกณฑ์สารพัดจาก Facebook อีก
  • คนทำ Content ต้องเรียนรู้การทำ Facebook Instant Articles เพิ่มเติม
  • ช่องทางการหารายได้จาก Banner ถูกจำกัด
  • ยังไม่สามารถใช้กับเว็บที่เป็น eCommerce หรือเว็บบอร์ดได้ ใช้ได้กับเฉพาะเว็บที่ให้อ่านเนื้อหาเป็นหลัก
  • สถิติของเว็บไซต์ลดลง เว็บที่ใช้สถิติเหล่านี้หารายได้อาจจะลำบาก

ทุกอย่างล้วนมีข้อดีและข้อเสีย คงต้องขึ้นอยู่กับคนทำเว็บว่าการใช้ Facebook Instant Articles จะเป็นประโยชน์กับเว็บของคุณอย่างไร หากเป็นเว็บที่สร้างมาเพื่อขาย Banner เป็นหลักอาจจะไม่เหมาะ แต่ถ้าเป็นเว็บที่อยากให้ประสบการณ์ที่ดีกับผู้อ่าน ที่จะทำให้อ่านบทความได้อย่างสะดวกรวดเร็ว Facebook Instant Articles น่าจะเป็นอีกหนึ่งทางที่ดีของเว็บคุณครับ

facebook instant articles, facebook, instant articles, instant article, facebook instant article, fbia, fb, webpresso, webmaster, สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย

ขอบคุณสมาคมผู้ดูแลเว็บไทยที่จัดเสวนาดีๆ เป็นประโยชน์กับวงการเว็บไทยครับ สามารถชมย้อนหลังได้ข้างล่างนี้ครับ

หากเห็นว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ อย่าลืมแชร์ให้คนอื่นๆ ได้อ่านกันนะครับ ขอบคุณครับ

ขอบคุณภาพประกอบจาก instantarticles.fb.com, ampproject.org, Fan Page สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย

บอกหน่อยซิ คิดยังไงกับเรื่องนี้

comments